วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภาษาไทยควรจำ

                                        


  • พยัญชนะไทยมี 44 รูป 21 เสียง
  • วรรณยุกต์มี ๔ รูป ๕ เสียง เช่น ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า ๔ รูปก็คือเริ่มตั้งแต่ไม้เอกค่ะ ส่วนเสียงสามัญไม่มีรูป
  • ไตรยางศ์หรืออักษร 3 หมู่มีการจัดหมวดหมู่เพื่อแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
  • อักษรสูง มี 11 ตัว ได้แก่            ผีฝากถุง(ฐ)ข้าว(ฃ)สาร(ศ,ษ)ให้ฉัน
  • อักษรสูงคำเป็น ผันได้ ๓ เสียง  เช่น ข่า  ข้า  ขา (เสียง เอก โท  จัตวา ตามลำดับ)
    อักษรสูงคำตาย ผันได้ ๒ เสียง  เช่น ขะ  ข้ะ (เสียง เอก โท - เสียงโทมักจะไม่มีความหมาย)
  • ใช้รูปวรรณยุกต์ตรีและจัตวาไม่ได้
  • อักษรกลาง มี 9 ตัว ได้แก่           ไก่จิกเด็ก(ฎ)ตาย(ฏ)บนปากโอ่ง
  • อักษรกลางคำเป็นเท่านั้นผันได้ 5 เสียง (คำที่มีเสียงสระยาวในแม่ ก กา หรือมี
    พยัญชนะตัวสะกด แม่ กง กน กม เกย เกอว)
  •  ส่วนอักษรกลางคำตายผันได้เพียง ๔ เสียงคือ เอก โท ตรี จัตวา (คำที่มีเสียงสระสั้นในแม่ ก กา 
    หรือมีพยัญชนะตัวสะกด แม่ กก กด กบ)
  • อักษรต่ำ มี 24 ตัว ได้แก่                        
  • อักษรต่ำยังแบ่งเป็น ต่ำคู่กับต่ำเดี่ยว
  • อักษรคู่      - เป็นสำเนียงฝรั่งออกเสียงประโยคอักษรสูง  พี(ภ)ฟากทุง(ฑ,,ธ)คาว(ฅ,ฆ)ซานไฮชัน(ฌ)
     อักษรต่ำ มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ 
  • อักษรคู่      -   เป็นสำเนียงฝรั่งออกเสียงประโยคอักษรสูง
                      พี(ภ)ฟากทุง(ฑ,,ธ)คาว(ฅ,ฆ)ซานไฮชัน(ฌ)
    อักษรเดี่ยว  -  งูใหญ่นอน ณ วัดโมฬีโลกยาราม
  • อักษรต่ำคำเป็น ผันได้ ๔ เสียง
  • อักษรคู่
    คา ค่า ค้า ค๋า (เสียง สามัญ โท ตรี จัตวา - เสียงจัตวาไม่มีความหมายและไม่มีที่ใช้)
  • อักษรต่ำคำเป็นผันวรรณยุกต์ได้ ๓ เสียง เช่น นู นู่ นู้ (เสียง สามัญ โท ตรี) ถ้าต้องการผันให้ครบ
    ๕ เสียงต้องใช้ ห นำ มาช่วย เช่น นู หนู่ หนู้/นู่ นู้ หนู/(นู๋) (เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา)  เสียงจัตวา
    ที่ถูกต้องควรใช้ ห นำช่วย แต่ถ้าเราใช้วรรณยุกต์จัตวากำกับโดยตรงเช่น นู๋ ก็สามารถออกเสียง
    ได้เพียงแต่ไม่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นภาษาเขียนที่ถูกต้องเท่านั้น
  • อักษรเดี่ยว
    นู นู่ นู้ นู๋ (เสียง สามัญ โท ตรี จัตวา - เสียงจัตวาไม่มีความหมาย เป็นคำที่วัยรุ่นทั้งหลาย
    ชอบใช้ เช่น  หนู-นู๋, หมู-มู๋ ไม่มีความหมาย ไม่เป็นที่ยอมรับ)
  • อักษรต่ำคำตายสระเสียงสั้น ผันได้ ๒ เสียง ค่ะ คะ (เสียง โท ตรี)
  • ส่วนอักษรต่ำคำตาย บางตำราว่าผันวรรณยุกต์ได้ถึง ๓ เสียง เช่น ค่ะ คะ ค๋ะ (เสียง โท ตรี จัตวา)
    แต่ถ้าลองออกเสียงจริง ๆ จะรู้สึกได้ว่ายากมาก ไม่สะดวกปากเหมือนคำเป็น
  • อักษรต่ำคำตายสระเสียงยาว ผันได้ ๒ เสียง คาบ ค้าบ (เสียง โท ตรี)
  • การใช้อักษรต่ำ(คู่) และอักษรสูง ผันร่วมกัน จะทำได้ห้าเสียง
    เช่น คา ข่า ค่า-ข้า ค้า ขา
    ถ้าต้องการผันอักษรต่ำ(เดี่ยว) ให้ได้ห้าเสียง ต้องใช้อักษรนำ ห มาใช้

    เช่น งา หง่า ง่า-หง้า ง้า หงา 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น