วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภาษาไทยควรจำ

                                        


  • พยัญชนะไทยมี 44 รูป 21 เสียง
  • วรรณยุกต์มี ๔ รูป ๕ เสียง เช่น ปา ป่า ป้า ป๊า ป๋า ๔ รูปก็คือเริ่มตั้งแต่ไม้เอกค่ะ ส่วนเสียงสามัญไม่มีรูป
  • ไตรยางศ์หรืออักษร 3 หมู่มีการจัดหมวดหมู่เพื่อแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
  • อักษรสูง มี 11 ตัว ได้แก่            ผีฝากถุง(ฐ)ข้าว(ฃ)สาร(ศ,ษ)ให้ฉัน
  • อักษรสูงคำเป็น ผันได้ ๓ เสียง  เช่น ข่า  ข้า  ขา (เสียง เอก โท  จัตวา ตามลำดับ)
    อักษรสูงคำตาย ผันได้ ๒ เสียง  เช่น ขะ  ข้ะ (เสียง เอก โท - เสียงโทมักจะไม่มีความหมาย)
  • ใช้รูปวรรณยุกต์ตรีและจัตวาไม่ได้
  • อักษรกลาง มี 9 ตัว ได้แก่           ไก่จิกเด็ก(ฎ)ตาย(ฏ)บนปากโอ่ง
  • อักษรกลางคำเป็นเท่านั้นผันได้ 5 เสียง (คำที่มีเสียงสระยาวในแม่ ก กา หรือมี
    พยัญชนะตัวสะกด แม่ กง กน กม เกย เกอว)
  •  ส่วนอักษรกลางคำตายผันได้เพียง ๔ เสียงคือ เอก โท ตรี จัตวา (คำที่มีเสียงสระสั้นในแม่ ก กา 
    หรือมีพยัญชนะตัวสะกด แม่ กก กด กบ)
  • อักษรต่ำ มี 24 ตัว ได้แก่                        
  • อักษรต่ำยังแบ่งเป็น ต่ำคู่กับต่ำเดี่ยว
  • อักษรคู่      - เป็นสำเนียงฝรั่งออกเสียงประโยคอักษรสูง  พี(ภ)ฟากทุง(ฑ,,ธ)คาว(ฅ,ฆ)ซานไฮชัน(ฌ)
     อักษรต่ำ มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ 
  • อักษรคู่      -   เป็นสำเนียงฝรั่งออกเสียงประโยคอักษรสูง
                      พี(ภ)ฟากทุง(ฑ,,ธ)คาว(ฅ,ฆ)ซานไฮชัน(ฌ)
    อักษรเดี่ยว  -  งูใหญ่นอน ณ วัดโมฬีโลกยาราม
  • อักษรต่ำคำเป็น ผันได้ ๔ เสียง
  • อักษรคู่
    คา ค่า ค้า ค๋า (เสียง สามัญ โท ตรี จัตวา - เสียงจัตวาไม่มีความหมายและไม่มีที่ใช้)
  • อักษรต่ำคำเป็นผันวรรณยุกต์ได้ ๓ เสียง เช่น นู นู่ นู้ (เสียง สามัญ โท ตรี) ถ้าต้องการผันให้ครบ
    ๕ เสียงต้องใช้ ห นำ มาช่วย เช่น นู หนู่ หนู้/นู่ นู้ หนู/(นู๋) (เสียง สามัญ เอก โท ตรี จัตวา)  เสียงจัตวา
    ที่ถูกต้องควรใช้ ห นำช่วย แต่ถ้าเราใช้วรรณยุกต์จัตวากำกับโดยตรงเช่น นู๋ ก็สามารถออกเสียง
    ได้เพียงแต่ไม่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นภาษาเขียนที่ถูกต้องเท่านั้น
  • อักษรเดี่ยว
    นู นู่ นู้ นู๋ (เสียง สามัญ โท ตรี จัตวา - เสียงจัตวาไม่มีความหมาย เป็นคำที่วัยรุ่นทั้งหลาย
    ชอบใช้ เช่น  หนู-นู๋, หมู-มู๋ ไม่มีความหมาย ไม่เป็นที่ยอมรับ)
  • อักษรต่ำคำตายสระเสียงสั้น ผันได้ ๒ เสียง ค่ะ คะ (เสียง โท ตรี)
  • ส่วนอักษรต่ำคำตาย บางตำราว่าผันวรรณยุกต์ได้ถึง ๓ เสียง เช่น ค่ะ คะ ค๋ะ (เสียง โท ตรี จัตวา)
    แต่ถ้าลองออกเสียงจริง ๆ จะรู้สึกได้ว่ายากมาก ไม่สะดวกปากเหมือนคำเป็น
  • อักษรต่ำคำตายสระเสียงยาว ผันได้ ๒ เสียง คาบ ค้าบ (เสียง โท ตรี)
  • การใช้อักษรต่ำ(คู่) และอักษรสูง ผันร่วมกัน จะทำได้ห้าเสียง
    เช่น คา ข่า ค่า-ข้า ค้า ขา
    ถ้าต้องการผันอักษรต่ำ(เดี่ยว) ให้ได้ห้าเสียง ต้องใช้อักษรนำ ห มาใช้

    เช่น งา หง่า ง่า-หง้า ง้า หงา 




วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เสียงวรรณยุกต์ ๕ เสียง

          
              เสียงสามัญ       เสียงเอก        เสียงโท        
                             เสียงตรี    เสียงจัตวา
                           
                                  

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วรรคทองในวรรณคดี



ที่มา  :  อาจิณ  จันทรัมพร.   (2550).    วรรคทองในวรรณคดี.  กรุงเทพฯ  :  ปิ่นอักษร.


          ลางลิงลิงลอดไม้        ลางลิง
แลลูกลิงลงชิง                      ลูกไม้
ลิงลมไล่ลมติง                     ลิงโลด หนีนา
แลลูกลิงลางไหล้               ลอดเลี้ยวลางลิง
                                                               ลิลิตพระลอ
                      

           หักอื่นขืนหักก็จักได้                    หักอาลัยนี้ไม่หลุดสุดจะหัก   
สารพัดตัดขาดประหลาดนัก                  แต่ตักรักนี้ไม่ขาดประหลาดนัก
                                                                                       นิราศอิเหนา
                                                                                         (สุนทรภู่)


         นทีสี่สมุทรม้วย                หมดสาย
ติมิงค์มังกรนาคผาย               ผาดส้อน
หยาดเหมพิรุณหาย               เหือดโลกแล้งแม่
แรมราดแสนร้อยร้อน             ฤเถ้าเทียมทน
                                                          นิราศนรินทร์
                                                   (นายนรินทร์ธิเบศร์  อิน)

           

            แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์              มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
อันเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด                       ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน                            บิดามารดารักมักเป็นผล
ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน                             เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา
แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ                           ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา                                             รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี
                                                                                          พระอภัยมณี
                                                                                        ( สุนทรภู่ )


              แมลงภู่เป็นคู่ของบุปผา          บูราณว่าเห็นจริงทุกสิ่งสม
หญิงกับชายก็เป็นคู่ชูอารมณ์                ชั่วปฐมกัปกัลป์พุทธันดร
.ใครมีคู่พลัดคู่ไม่มีสุข                           มักเกิดทุกข์ใหญ่ยิ่งกว่าสิงขร
เหมือนตัวเรียมร่ำรักหนักอุทร               ด้วยจากจรมิได้อยู่เป็นคู่เชย
                                                                                นิราศพระแท่นดงรัง
                                                                                     (นายมี)

วรรคทองในวรรณคดี